เมนู

ก็ในการพรรณนาคาถา บทว่า สํสคฺคชาตสฺส ได้แก่ ผู้เกี่ยวข้อง
เกิดแล้ว ในคาถานั้น

ความเกี่ยวข้องมี 5 อย่าง

คือ
1. ทัสสนสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องเพราะการเห็น
2. สวนสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องเพราะการฟัง
3. กายสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องทางกาย
4. สมุลลาปนสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องเพราะการสนทนา
5. สัมโภคสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องเพราะกินร่วมกัน.
ในความเกี่ยวข้อง 5 อย่างนั้น ราคะเกิดด้วยอำนาจแห่งจักขุวิญญาณ
วิถี เพราะเห็นซึ่งกันและกัน ชื่อว่า ทัสสนสังสัคคะ. ธิดาของกุฎุมพีผู้มี
จิตรักใคร่ เพราะเห็นภิกษุหนุ่มชื่อ ทีฆภาณกะ ผู้อยู่ในกัลยาณวิหาร ซึ่งกำลัง
ไปสู่กาลทีฆวาปิคาม เพื่อบิณฑบาต ในสีหลทวีป ไม่ได้ภิกษุหนุ่มนั้น ด้วย
อุบายบางอย่าง ก็ทำกาลกิริยา และภิกษุหนุ่มรูปนั้นเอง เห็นผ้านุ่งของธิดานั้น
ก็คิดว่า เราไม่ได้อยู่ร่วมกับนางผู้นุ่งผ้าเห็นปานนี้ แล้วหัวใจแตกตาย เป็น
ตัวอย่างในทัสสนสังสัคคะนั้น.
ก็ราคะเกิดด้วยอำนาจแห่งโสตวิญญาณวิถี เพราะฟังสมบัติมีรูปเป็นต้น
ที่คนอื่นทั้งหลายพูดถึง หรือเพราะตนได้ฟังเสียงหัวเราะ เสียงพูดจา และเสียง
เพลงขับ ชื่อว่า สวนสังสัคคะ. แม้ในสวนสังสัคคะนั้น ภิกษุหนุ่มชื่อติสสะ
ผู้อยู่ในถ้ำปัญจัคคฬะ กำลังเหาะทางอากาศ ได้ฟังเสียงของธิดาช่างมีดผู้อยู่ใน
คิริคาม ไปสระปทุมพร้อมกับกุมารี 5 นาง อาบน้ำแล้ว ยกดอกไม้ร้องเพลง
ด้วยเสียงดัง ก็เสื่อมจากคุณวิเศษ เพราะกามราคะ ถึงความพินาศเป็นตัวอย่าง.

ราคะเกิดเพราะลูบคลำอวัยวะของกันและกัน ชื่อว่า กายสังสัคคะ.
ก็ในกายสังสัคคะนี้ มีภิกษุหนุ่มชื่อ ธรรมภาสกะ เป็นตัวอย่าง ได้ยินว่า ภิกษุ
หนุ่มกล่าวธรรมในมหาวิหาร เมื่อมหาชนมาในมหาวิหารนั้น แม้พระราชาก็
เสด็จไปพร้อมกับชาววัง แต่นั้น ราคะกล้าได้เกิดแก่พระราชธิดา เพราะอาศัย
รูปและเสียงของภิกษุหนุ่มนั้น และเกิดแม้แก่ภิกษุหนุ่มรูปนั้น พระราชาทรง
เห็นเหตุนั้น ทรงกำหนดแล้ว ให้ล้อมด้วยกำแพงคือม่าน เธอทั้งสองนั้น ก็
เคล้าคลึงโอบกอดซึ่งกันและกัน ชนทั้งหลายเลิกผ้าม่านแลดูอีก ก็เห็นเธอ
ทั้งสองถึงแก่ความตายแล้ว.
ก็ราคะเกิดเพราะการสนทนาปราศรัยกะกันและกัน ชื่อว่า สมุลลา-
ปนสังสัคคะ
. ราคะเกิดในเพราะทำการบริโภคร่วมกันกับภิกษุณีทั้งหลาย
ชื่อว่า สัมโภคสังสัคคะ ในสังสัคคะแม้ทั้งสองนั้น ภิกษุและภิกษุณีถึงอาบัติ
ปาราชิก. เป็นตัวอย่าง. ได้ยินว่า ในการฉลองมหาวิหาร ชื่อ มิรจิวัฏฏกะ
พระเจ้าทุฏฐคามณีอภยมหาราช ทรงจัดแจงมหาทานอังคาสพระสงฆ์ทั้งสองฝ่าย
ในการฉลองมหาวิหารนั้น เมื่อถวายข้าวยาคูร้อน สามเณรีผู้ยังใหม่กว่าสงฆ์
ได้ถวายวลัยงาแก่สามเณรผู้ใหม่กว่าสงฆ์ ซึ่งไม่มีเชิงรองบาตร ได้ทำการเจรจา
ปราศรัยกัน เธอแม้ทั้งสองนั้นอุปสมบทแล้ว ได้ 60 พรรษา ไปสู่ฝั่งโน้น
ได้รับบุพสัญญา เพราะการเจรจาปราศรัยกะกันและกัน ก็เกิดสิเนหาในทันที
ทันใดนั้นเอง ล่วงละเมิดสิกขาบท ต้องอาบัติปาราชิก.
ความเยื่อใยย่อมมีแก่บุคคลผู้เกี่ยวข้องกัน ด้วยความเกี่ยวข้องอย่างใด
อย่างหนึ่ง ในความเกี่ยวข้อง 5 อย่าง ราคะอันมีกำลังย่อมเกิดขึ้น เพราะ
ราคะในกาลก่อนเป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้. แต่นั้น ทุกข์นี้ย่อมเกิดขึ้นตาม

ความเยื่อใย คือ ทุกข์นี้มีประการต่าง ๆ มีความโศกและความคร่ำครวญเป็นต้น
ทั้งที่เป็นทิฏฐธรรมและสัมปรายิกภพย่อมเกิดขึ้น คือ ย่อมบังเกิด ย่อมมี
ย่อมเกิด ติดตามความเยื่อใยนั้นนั่นเอง. ส่วนอาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า ได้แก่
การปล่อยใจในอารมณ์ แต่นั้น ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นเพราะความเยื่อใย ดังนี้แล.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ครั้นตรัสอรรถคาถานี้ มีประเภทแห่ง
เนื้อความอย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า ทุกข์มีความโศกเป็นต้นนี้ใด ย่อมเกิดขึ้นตาม
ความเยื่อใย เรานั้นได้ขุดรากเหง้าของทุกข์นั้น จึงบรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณ
ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว อำมาตย์เหล่านั้น จึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้
พวกข้าพระองค์พึงทำอย่างไร ลำดับนั้น พระองค์จึงตรัสว่า พวกท่านหรือ
พวกอื่น ผู้ใดต้องการพ้นจากทุกข์นี้ ผู้นั้นแม้ทั้งหมดเล็งเห็นโทษอันเกิดแต่
ความเยื่อใย พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรดฉะนั้น.
ก็คำว่า เล็งเห็นโทษอันเกิดแต่ความเยื่อใยนี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าว
หมายเอาคำที่พระปัจเจกพุทธเจ้าตรัสว่า ทุกข์นี้ย่อมเกิดขึ้นตามความเยื่อใย.
อีกอย่างหนึ่ง พึงเชื่อมความอย่างนี้ว่า ความเยื่อใยย่อมมีแก่บุคคลผู้มีความ
เกี่ยวข้องเกิดขึ้นแล้ว ด้วยความเกี่ยวข้องตามที่กล่าวแล้ว ทุกข์นี้ย่อมเกิดขึ้นตาม
ความเยื่อใย เราเล็งเห็นทุกข์นั้นอันเกิดแต่ความเยื่อใย ทำความเสียดแทงตาม
ที่มาแล้ว จึงบรรลุดังนี้ พึงทราบว่า บาทที่ 4 พระปัจเจกพุทธเจ้าตรัสแล้ว
ด้วยอำนาจแห่งอุทาน โดยนัยที่กล่าวแล้วในก่อนนั่นเทียว. บททั้งปวงนอกจาก
นั้น เป็นเช่นกับที่กล่าวแล้วในคาถาต้นนั้นแล.
สังสัคคคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 3


คาถาว่า มิตฺเต สุหชฺเช ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
พระปัจเจกโพธิสัตว์นี้ อุบัติโดยนัยที่กล่าวแล้วในคาถาแรกนั้นเทียว
เสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี ยังปฐมฌานให้เกิดแล้ว ทรงพิจารณาว่า
สมณธรรมประเสริฐ หรือว่า ราชสมบัติประเสริฐ ทรงมอบราชสมบัติในมือ
ของอำมาตย์ 4 คน แล้วทรงกระทำสมณธรรม อำมาตย์ทั้งหลายแม้พระราชา
ตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงทำโดยธรรม โดยสม่ำเสมอ ก็รับสินบนทำโดยอธรรม
อำมาตย์เหล่านั้น ไม่รับสินบนก็ทำโดยอธรรม รับสินบนแล้ว ทำเจ้าของ
ทั้งหลายให้แพ้ ในกาลครั้งหนึ่ง ให้ราชวัลลภคนหนึ่งให้แพ้ ราชวัลลภนั้น
เข้าไปเฝ้าพร้อมกับพวกพนักงานห้องเครื่องของพระราชา ทูลบอกเรื่องทั้งหมด
ในวันที่ 2 พระราชาเสด็จไปสู่สถานที่วินิจฉัยด้วยพระองค์เอง แต่นั้น หมู่
มหาชนได้ร้องเสียงดังว่า พวกอำมาตย์ทำเจ้าของมิให้เป็นเจ้าของ ได้กระทำ
เสียงดังเหมือนการรบใหญ่.
ลำดับนั้น พระราชาเสด็จลุกจากสถานที่วินิจฉัย เสด็จขึ้นสู่ปราสาท
ประทับนั่งเพื่อทรงเข้าสมาบัติ แต่ไม่อาจเพื่อทรงเข้าได้ เพราะทรงฟุ้งซ่าน
ด้วยเสียงนั้น พระองค์ทรงพิจารณาว่า เราจะมีประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติ
สมณธรรมประเสริฐกว่า ดังนี้แล้ว ทรงสละความสุขในราชสมบัติ ทรงยัง
สมาบัติให้เกิดขึ้นอีก ทรงพิจารณาเห็นโดยนัยที่กล่าวในกาลก่อนนั่นแล ทรง
กระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกสัมโพธิญาณ และถูกทูลถามถึงกรรมฐาน จึงได้ตรัส
คาถานี้.